













ภาระและหน้าที่ กองคลัง
กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่น ๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาลและ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
1. งานธุรการ
- (1.1) การรับ ส่ง ลงทะเบียน แยกประเภท และจัดส่งหนังสือ เอกสารให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- (1.2) การเก็บ พิมพ์ คัดสำเนา ค้นหาและติดตามเรื่องราว เอกสารหลักฐาน
- (1.3) ร่างหนังสือโต้ตอบ บันทึก ย่อเรื่อง สรุปความเห็นและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐาน
- (1.4) งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
2. งานการเงินและบัญชี
- (2.1) การจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน,คณะกรรมการรับ ส่งเงินฝากธนาคาร,คณะกรรมการตรวจสอบการรับเงินประจำวัน
- (2.2) การรับเงินรายได้จากงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ตามใบนำส่งและใบนำส่งเงินตรวจสอบให้ตรงกับใบเสร็จรับเงินและนำฝ ากธนาคารทุกวัน พร้อมทั้งส่งใบนำส่งเงินให้งานการบัญชีลงบัญชี
- (2.3) การรับเงินจัดสรรจากท้องถิ่นจังหวัด ได้แก่ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ค่าอาหารเสริม (นม) ค่าอาหารกลางวัน , ค่าเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ,โรคเอดส์ และเงินอื่น ๆ ทำใบนำส่งเงินให้งานการบัญชีลงบัญชี
- (2.4) การตรวจสอบเงินโอนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป, ภาษีมูลค่าเพิ่ม,เงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิละนิติกรรมที่ด ิน,ภาษีธุรกิจเฉพาะ,ค่าภาคหลวงแร่,ค่าภาคหลวงปิโตเลียมที่โอนผ่ านธนาคารโดยใช้บริการ Self-Service Banking
- (2.5) การรับฎีกาเบิกเงินจากงานต่าง ๆ ลงเลขรับฎีกาวันที่รับใบเบิก และนำส่งให้งานควบคุมงบประมาณตัดยอดเงินงบประมาณ
- (2.6) นำฎีกาที่งานการบัญชีตัดยอดเงินมาตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ (ตามเอกสารที่แนบ)
- (2.7) การนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายเงินประกันสังคม , เงินค่าใช้จ่าย 5 % ,เงินกู้สวัสดิการธนาคารออมสิน,เงินสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานดำเน ินการ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือน
- (2.8) การนำส่งเงินสมทบกองทุน กบท. ภายในเดือนธันวาคม ของทุกปี
- (2.9) การโอนเงินเดือนพนักงาน, ผู้บริหาร, สมาชิกสภาเทศบาลเข้าธนาคาร
- (2.10) การตรวจเอกสารประกอบฎีกาจ่ายเงิน ได้แก่ วันที่, ลายมือชื่อ ,ในใบเสร็จรับเงิน,ใบสำคัญรับเงินหรือหลักฐานการจ่าย ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ ต้องประทับตราตรวจถูกต้อง
- (2.11) การจัดทำฎีกาเบิกเงินของกองคลังฎีกานอกงบประมาณ ฎีกาเงินสะสม พร้อมทั้งรายละเอียดให้ครบถ้วน
- (2.12) การจัดทำรายงานการจัดทำเช็ค ลงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน จัดทำสำเนาคู่ฉบับและตัวจริงให้เก็บไว้กับฎีกาเบิกเงินสำเนาแยก แฟ้มไว้ต่างหาก 1 ฉบับ ติดตามประสานให้ผู้มีสิทธิรับเงินตามเช็คมารับไปโดยเร็วต้องไม่ เกิน 15 วันหลังจากผู้มีอำนาจลงนามในเช็คแล้ว หรือดำเนินการนำออกไปจ่ายให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
- (2.13) การเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล,ค่าเช่าบ้าน,ค้าจ้างเหมาบร ิการ,ค่าเล่าเรียนบุตร,เงินสำรองจ่าย,ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปร าชการไม่ความเกิน 5 วันทำการ หลังจากรับฎีกาเบิกเงินจากสำนัก/กองต่างๆ
- (2.14) ดำเนินการเบิกตัดปีโครงการที่ดำเนินการไม่ทันในปีงบประมารนั้น หรือขออนุมัติจัดทำรายจ่ายค้างจ่ายตามแบบที่กำหนด
- (2.15) รับใบนำส่งจากงานการเงินนำมาลงบัญชีเงินสดรับและทะเบียนเงินราย รับ
- (2.16) ตรวจสอบเงินภาษีจัดสรรที่งานการเงินได้รับมาจากสำนักงานท้องถิ่ นจังหวัดพัฒนานำมาลงบัญชีเงินสดรับ (กรณีออกใบเสร็จรับเงิน)นำใบผ่านรายการทั่วไป (กรณีรับเงินโอนต่าง ๆ) แล้วนำมาลงทะเบียนเงินรายรับ
- (2.17) การจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันทุกวนที่มีการรับ - จ่ายเงินและเสนอให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินและผู้บริหารทราบทุก วัน
- (2.18) รายงานการรับจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไป/อุดหนุนเฉพาะกิจ/เงินถ่ายโอ น/เลือกทำตามแบบ/จ.ส.02 ภายในกำหนดเวลา จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน
- (2.19) การจัดทำทะเบียนคุมต่าง ๆ ได้แก่
-
- (2.19.1) ทะเบียนคุมเงินรายรับตรวจสอบกับเงินสดรับและเงินฝากธนาคารให้ถู กต้องตรงกัน
- (2.19.2) ทะเบียนคุมรายจ่ายตามงบประมาณตรวจสอบกับบัญชีเงินสดจ่ายและ Statement ของธนาคารรวมทั้งสมุดจ่ายเช็คให้ถูกต้องตรงกัน
- (2.19.3) ทะเบียนคุมเงินค้ำประกันสัญญาตรวจสอบกับเงินสดรับและสำเนาใบเสร็จรับเงินให้ถูกต้อง
- (2.19.4) ทะเบียนคุมเงินสะสมจัดทำมาตรวจสอบกับสมุดเงินสดจ่ายและบัญชีแยก
ประเภทให้ถูกต้องตรงกัน - (2.19.5) จัดทำทะเบียนคุมเงิน ส่วนลด 6% ค่าใช้จ่าย 5 % และเงินนอกงบประมาณทุกประเภทได้แก่ งบถ่ายโอน ,เงินผู้ดูแลเด็ก,เงินค่าอาหารกลางวัน,ค่าอาหารเสริม(นม), ค่าเช่าบ้านบุคลากร/เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ลงรับและตัดจ่ายให้เป็นปัจจุบัน
- (2.19.6) จัดทำใบผ่านรายการบัญชีทั่วไป ทุกครั้งที่มีการรับเงินที่ไม่ได้รับเงินสดเป็นเงินโอนต่างๆ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารเงินรับโอนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้ องถิ่น ทำให้ใบผ่านรายการบัญชีมาตรฐาน 1,2,3 ทุกสิ้นเดือนและที่มีการปิดบัญชี
- (2.20) จัดทำรายงานต่าง ๆ ได้แก่
-
- (2.20.1) การจัดทำรายงานประจำเดือน ได้แก่ งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารต้องตรงกับรายงานสถานะการเงินประจำวัน, รายงานเงินรับฝาก,รายงานกระแสเงินสด,งบรับจ่ายเงินสด,กระดาษทำก ระทบยอด,รายจ่ายตามงบประมาณ(รายจ่ายรายรับ) จ่ายจากเงินสะสม,งบประมาณคงเหลือ,กระดาษทำการรายจ่ายงบประมาณรา ยรับจริงประกอบงบทดลองและรายงานรับจ่าย และเงินสดประจำเดือนงบทดลองประจำเดือน
- (2.20.2) การจัดทำงบแสดงฐานะทางการเงินเมื่อสิ้นปีงบประมาณได้แก่ ปิดบัญชี จัดทำงบแสดงผลการดำเนินงานจ่ายจากรายรับ,งบทรัพย์สิน,งบเงินสะส ม,งบหนี้สิน,งบทดลองก่อนและหลังปิดบัญชี
- (2.21) การจัดทำรายงานที่ต้องส่งตามกำหนดเวลา ได้แก่
-
- (2.21.1) รายงานการใช้จ่ายเงินเศรษฐกิจชุมชนภายในเดือนตุลาคมของทุกปี
- (2.21.2) รายงานเงินสะสมทุก 6 เดือน (งวดตุลาคม-มีนาคม) รายงานภายในวันที่ 10 เมษายน,งวดรายงานการใช้จ่ายเงินเศรษฐกิจชุมชนภายในเดือนตุลาคมข องทุกปี
- (2.21.3) รายงานเงินสะสมทุก 6 เดือน(งวดตุลาคม-มีนาคม) รายงานภายในวันที่ 10 เมษายน,งวดเมษายน- กันยายน รายงานภายในวันที่ 10 ของเดือน ตุลาคม
- (2.21.4) รายงานการสอบทานการปฏิบัติงานทางการเงินและบัญชีทุก 3 เดือน ภายในวันที่ 10 ของเดือน (มกราคม,เมษายน,กรกฎาคม,ตุลาคม)
- (2.21.5) ปรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เพื่อการเกษตรเพื่อสหกรณ์การเกษตร (เงินฝากประจำทุกเดือนมกราคม ,มีนาคม,เมษายน,มิถุนายน,กรกฎาคม,กันยายน,ตุลาคม,ธันวาคม) ปรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรเพื่อสหกรณ์การเกษตร(เง ินฝากออมทรัพย์)ทุกสิ้นเดือน มีนาคม โดยจัดทำใบผ่านรายการบัญชีทั่วไป
- (2.21.6) รายงานเศรษฐกิจรากฐานก่อนวันที่ 20 ของทุกเดือน
- (2.21.7) รายงาน GPP
3. งานจัดเก็บและพัฒนารายได้
- (3.1) จัดเก็บรายได้ที่เทศบาลตำบลหาดกรวดจัดเก็บเอง และเงินโอนทุกประเภทรับเงิน รายได้ ออกใบเสร็จรับเงินพร้อมทั้งนำใบส่งเงินสรุปฯโดยประสานงานกับงาน การเงินเรื่องการรับเงินโอนต่างจังหวัดและกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น นำมารวมในใบนำส่งเงิน ก่อนส่งให้งานการเงิน กรณีรับเงินสดหรือเช็คต่างจังหวัดก่อนนำฝากธนาคารและส่งหลักฐาน ให้งานการบัญชีเพื่อจะใช้สอบยันให้ตรงกัน
- (3.2) ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รวมทั้ง รายการรายละเอียดต่าง ๆ ของผู้มาชำระค่าภาษีทุกประเภทกับทะเบียนลูกหนี้ให้ถูกต้องครบถ้ วนและทำให้เป็นปัจจุบันมีการจำหน่ายชื่อลูกหนี้ ลงเล่มที่ เลขที่ ใบเสร็จรับเงินและวันที่รับชำระเงิน ในทะเบียนลูกหนี้ทุกครั้งที่มีการรับเงิน
- (3.3) งานประเมินจัดเก็บรายได้การแต่งตั้งคณะกรรมการ ประเมินภาษี นัดประชุมจัดทำรายงานการประชุม จัดทำรายละเอียดแบ่งโซน บล็อก ล็อค ตามแผนที่ภาษี เพื่อกำหนดอัตราในการจัดเก็บทุกปี
- (3.4) จำหน่ายลูกหนี้ค้างชำระออกจากบัญชี เร่งรัดการจัดเก็บรายได้มีการติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้โดยตรง
- (3.5) จัดทำทะเบียนทุมลูกหนี้ค่าภาษี ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย กิจการค้าน่ารังเกียจและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ลูกหนี้ค่าน้ำประปา
- (3.6) งานเร่งรัดจัดเก็บและตรวจสอบภาษีประจำเดือน เช่น ค่าน้ำประปาให้หมดไป โดยมี่มีค้างหรือมีรายการต้องตัดมาตรน้ำ ก็ให้ดำเนินการตามขั้นตอน พร้อมทั้งรายงานหนี้ค้างชำระ
- (3.7) จัดทำ ภทบ.19 บัญชี งบหน้าและงบรายละเอียดค่าส่วนลด 6 % เป็นประจำทุกเดือน พร้อมทั้งตรวจสอบกับงานการเงินให้ถูกต้องตรงกัน
- (3.8) งานจัดทำทะเบียน ผท.1,2,3,4,5,6,
- (3.9) งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
4. งานพัสดุและทรัพย์สิน
- (4.1) ก่อนสิ้นเดือนกันยายนของทุกปี ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี
- (4.2) จัดทำแผนการจัดหาพัสดุประจำปี และแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ ผด.1,ผด.2ผด.3,ผด.5และรายงานตามแบบ ผด.6 ในฐานะหน่วยงานพัสดุกลาง รายละเอียดตามเอกสารที่แนบ
- (4.3) ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนฯ และขั้นตอนต่าง ๆ ตามระเบียบพัสดุ (ตามเอกสารที่แนบ) เมื่อจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามแผนต้องดำเนินการปรับแผนและแจ้ งในส่วนต่าง ๆให้ทราบด้วย
- (4.4) จัดทำบัญชีรับจ่ายวัสดุ, ทะเบียนคุภัณฑ์ลงเลขรหัสที่ตัวคุรุภัณฑ์ การยืมพัสดุต้อง ทวงถามติดตามเมื่อครบกำหนดคืน
- (4.5) แต่งตั้งคณะกรรมการจำหน่ายพัสดุกรณีมีพัสดุที่ไม่ใช้หรือเลิกใช ้เสื่อมสภาพและสูญหายไม่สามารถใช้การได้และจำหน่ายออกบัญชีหรือ ทะเบียน
- (4.6) งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
5. งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
ในการปฏิบัติงานของเทศบาล ในเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกองคลังให้หัวหน้ากองฯ เป็นผู้ สั่งการและรับผิดชอบโดยตรง กรณีที่จะต้องให้นายกเทศมนตรีเป็นผู้สั่งการ ให้เสนอปลัดเทศบาลเพื่อวินิจฉัย และเสนอนายกเทศมนตรีทราบและสั่งการต่อไป ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่การงานถือปฏิบัติตามคำสั่ง และระเบียบของทางราชการโดยเคร่งครัด อย่าให้เกิดความบกพร่องเสียหายแก่ราชการได้ หากมีปัญหาอุปสรรคให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปทราบต่อไป